ยาคุมกำเนิดกับผู้หญิงอยู่คู่กันมาอย่างยาวนานเนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ปกกันแบบใส่ถุงยางหรือไม่มั่นใจในการหลังยาคุม มีมากมายหลายวิธีเช่นกัน ฝั่งเข็ม กินแผง และฉุกเฉินเป็นต้นวันนี้มาไขข้อสงสัยยาคุมฉุกเกินกัน
ก่อนเราจะเข้าเรื่องยาคุมฉุกเฉินเรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าว่ายาคุมฉุกเฉินคืออะไร
ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pill) เป็นยารับประทานที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์หลังการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้คุมกำเนิด เกิดความผิดพลาดจากการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด ฝ่ายหญิงลืมรับประทานยาคุมกำเนิด หรือแม้กระทั่งการถูกข่มขืนกระทำชำเรา ผู้หญิงควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน โดยตัวยาจะส่งผลยับยั้งหรือชะลอการตกไข่ รวมไปถึงสร้างเมือกที่บริเวณปากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่ได้
ยาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการตั้งครรภ์หากรับประทานทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน แต่ไม่ออกฤทธิ์ทำให้เกิดการแท้งในผู้ที่ตั้งครรภ์แล้ว และไม่ก่อให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์
โดยทั่วไป ยาคุมฉุกเฉินควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง (3 วัน) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี 2 แบบ คือ ยาคุมฉุกเฉิน 1.5 มิลลิกรัม ที่ต้องรับประทาน 1 เม็ดทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และยาคุมฉุกเฉิน 0.75 มิลลิกรัม ที่ต้องรับประทาน 1 เม็ดทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และรับประทานอีก 1 เม็ดหลังผ่านไป 12 ชั่วโมง
ผู้หญิงไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินเกินสองครั้งในชีวิตจริงหรือไม่?
คำตอบคือ “ไม่จริง” หมอขอยกงานวิจัยประกอบเหตุผลที่ว่าดังนี้
งานวิจัยตีพิมพ์ใน Human Reproduction เมื่อปี 2016 ที่ทำการศึกษาในผู้หญิงอายุ 18-45 ปี จาก 4 มหาวิทยาลัยทั้งจากประเทศไทย บราซิล สิงคโปร์ และฮังการี จำนวน 321 คน โดยให้พวกเธอกินยาคุมฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง นาน 6 เดือน พบว่าผู้หญิงที่ร่วมงานวิจัยทั้งหมดมีการตั้งครรภ์เฉลี่ยร้อยละ 7.5
สำหรับหญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี มีการตั้งครรภ์ร้อยละ 11 ซึ่งสูงกว่าการกินยาคุมเป็นแผง ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9 และยาฉีด DMPA ที่ร้อยละ 6 ส่วนห่วงอนามัย ต่ำกว่าร้อยละ 1 และยังมีอาการข้างเคียงซึ่งทนได้ ได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ ปวดท้อง โลหิตจาง
การคุมกำเนิดด้วย ‘ยามาดอนน่า’ หรือยาคุมฉุกเฉินเป็นที่ยอมรับของสาวๆ ที่มาร่วมวิจัยจำนวนมาก (ร้อยละ 90) ซึ่งพวกเธอเลือกใช้การคุมกำเนิดโดยยาคุมฉุกเฉินทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ทั้งยังแนะนำให้คนอื่นเลือกใช้เนื่องจากสะดวก เพราะไม่ต้องกินยาคุมทั้งเดือน โดยเฉพาะคนที่นานๆ ครั้งจะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้แพลนไว้ก่อน
แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยเสนอว่า ไม่ควรใช้การคุมกำเนิดฉุกเฉินแทนการคุมกำเนิดเดิม
แม้ว่าจะไม่มีข้อห้ามในการกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน แต่ประสิทธิภาพของยาไม่ดีเท่าการคุมกำเนิดมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ และหากพลาดตั้งครรภ์ อาจเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ อีกทั้งยังมีผลข้างเคียง ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ อาจมามาก มานาน หรือมากะปริบกะปรอยได้
และงานวิจัยนี้ก็ยังมีจุดอ่อน โดยจำนวนคนเข้าร่วมงานวิจัยยังมีไม่มาก ติดตามผลไม่นาน ดังนั้นจึงควรใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผงตามมาตรฐานเดิม หากแพ้ชนิดที่มีฮอร์โมนสองตัว หมอแนะนำให้เลือกใช้ยาคุมที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตัวเดียว ซึ่งต่อเม็ดมีฮอร์โมนน้อยกว่ายาคุมฉุกเฉินจำนวน 10-20 เท่า ทำให้มีเลือดออกผิดปกติได้น้อยกว่า เสี่ยงต่อการเสียเลือดน้อยกว่า และยังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย
เราควรใช้ยาคุมฉุกเฉินต่อเมื่อเกิดเหตุต่อไปนี้
- ไม่พร้อมจะมีลูก และมีเพศสัมพันธ์ไปแล้วไม่เกิน 120 ชั่วโมง
- มีปัญหากับการคุมกำเนิดปัจจุบัน ได้แก่
- ถุงยางอนามัยรั่ว แตก หลุด หรือไม่แน่ใจว่าสวมใส่ถูกวิธี
- ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนสองตัวต่อกันสองวัน
- กินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนตัวเดี่ยวไม่ตรงเวลา ห่างเวลาเดิมไป 3 ชั่วโมง
- ลืมฉีดยาคุมกำเนิดชนิด 3 เดือน (DMPA) เลยไป 1-2 สัปดาห์
- ลืมฉีดยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่งเดือน (Cyclofem) เลยไป 2-3 วัน
- หมวกยางหรือไดอะเฟรมกั้นปากมดลูกหลุด ฉีก หรือเอาออกก่อน 8 ชั่วโมงหลังเพศสัมพันธ์
- แผ่นแปะคุมกำเนิดเลื่อนหลุด หรือเอาออกก่อนกำหนด
- ห่วงคุมกำเนิดหลุด เลื่อน หรือหายไป
- ใช้วิธีนับวัน วัดอุณหภูมิ เครื่องมือตรวจฮอร์โมน คำนวณวันไข่ตก แต่ไม่แน่ใจว่าจะนับถูก
- หลั่งภายนอก แต่ไม่แน่ใจว่าอสุจิปนเปื้อนกับอวัยวะเพศของฝ่ายหญิงหรือไม่
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมฉุกเฉิน
- ปวดท้อง
- ปวดหัว
- ปวดหน้าอก
- รู้สึกป่วย ร่างกายอ่อนล้า
- ประจำเดือนมาผิดปกติหรือมีเลือดไหลก่อนถึงรอบประจำเดือน
เราไขข้อสงสัย ที่ติดคาในใจมานานแสนนานแล้ว ว่ายาคุมฉุกเฉินนั้นกินได้ตลอดแต่ไม่ควรนำมาเป็นยาคุมกำเนิดโดยพื้นฐาน